var popunder = true; 05/29/14 | Learning On-Line. สื่อการเรียนรู้ออลไลน์
welcome to oomv26.blogspot.com ดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ ยิ่งยง แซ่ว่าง ครับ

5/29/2557

คำไวพจน์




  คำไวพจน์



         คำไวพจน์ (การหลากคำ)  เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยอีกพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น ๒ นัย
                  -        นัยหนึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ ให้คำอธิบายว่า "คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า" (พจนานุกรม ๒๕๔๒ หน้า ๑๐๙๑)
                  -         และในที่เดียวกันนี้ได้ให้ความหมายที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าวไว้ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ด้วยว่า หมายถึง "คำที่ออกเสียงเหมืมอนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล ปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง"
         ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน











 ตัวอย่างคำไวพจน์
                   ๑. พระอาทิตย์
-          ทินกร, ทิวากร , ภาสกร , ภากร , รวี , ระพี , ไถง (คำเขมร) , ตะวัน , อาภากร , อังศุมาลี , สุริยะ, สุริยา , สุริยัน , สุริยน , สุริยง , ภาณุ ภาณุมาศ , อุษณกร , ทยุมณี , อหัสกร , พรมัน , ประภากร , รังสิมันต์ , รังสิมา , รำไพ ,
                   ๒. พระจันทร์
-          แข (คำเขมร) , รัชนีกร , บุหลัน ( คำชวา) , นิศากร , เดือน , ศศิ , ศศิธร , โสม , กัษษากร , นิศาบดี , ศิวเศขร , อินทุ ,วิธู , มาส , รชนี
                   ๓. ท้องฟ้า
-          อัมพร , คัคนานต์ , นภาลัย , โพยม , นภางค์ , ทิฆัมพร , เวหา , หาว , เวหาส
                   ๔. แผ่นดิน
-          ธรณี , ปฐพี , ธาตรี , ธรา , หล้า , เมทินี , ภูมิ , ภพ , พสุธา , ธาษตรี , โลกธาตุ , ภูวดล, พิภพ , พสุธาดล , ปัถพี ,ปฐวี , ปฐพี , ธราดล , ภูตลา , พสุนทรา , มหิ , พสุมดี , ธรณิน
                   ๕. ภูเขา
-          คีรี , สิงขร , บรรพต , ไศล , ศิขริน , สิงขร , พนม , ภู , ภูผา
                    ๖. ป่า
-          ไพร , พง , ดง , อรัญ , พนา ,ชัฏ , เถื่อน , พนัส , ไพรวัน, พงพี, พงไพร, ไพรสัณฑ์, พนาดร , พนาลี , พนาวัน,
อรัญญิก
                  ๗. พระพุทธเจ้า
-          พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระสัพพัญญู , พระโลกนาถ , พระสุคต ,พระผู้มีพระภาคเจ้า , พระสมณโคดม , พระศากยมุนี พระธรรมราช , พระชินสีห์ , พระทศญาณ , มารชิต , โลกชิต , พระทศพลญาณ , พระตถาคต , พระชินวร , ชินศรี
                  ๘. ทองคำ
-          สุวรรณ , สุพรรณ , เหม , กนก , มาศ , อุไร , จารุ , ตปนียะ , กาญจน์
                  ๙. เงิน
-          รัชตะ , รัชฎา , ปรัก , หิรัญ , รชต
                  ๑๐. น้ำ
-          อาโป , อุทก,วารี,ชล, คงคา , นที, สินธุ์ ,สาคร ,สมุทร , ชลาลัย , อุทก , ชโลทร , มหรรณพ,ชลธาร , ชลาศัย ,ชลธี,ธาร,ธาราสลิล, อรรณพ ,สินธุ , สาคเรศ ,อุทกธารา , อุทก ,อัมพุ ,วารี ,กระสินธิ์





ที่มา:http://www.sahavicha.com
การคายน้ำของพืช (3) การงาน (1) การงานอาชีพ (2) การแบ่งเซลล์ (2) การลำเลียงน้ำของพืช (1) การลำเลียงอาหารของพืช (1) การเลือกซื้อ (1) ความกตัญญูรู้คุณ-พ่อแม่-ครูอาจารย์-ญาติมิต (1) ความร่วมมือ (1) ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับ aec (1) คำไวพจน์ (1) โครงสร้างของดีเอ็นเอ (3) งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย (1) ชีววิทยา (7) ชีววิทยา ม.6 (1) ตอบคำถาม (1) ตัวอย่างคำไวพจน์ (1) แบบทดสอบเรื่อง used to (1) ประวัติศาสตรโรมัน (1) ภาษาไทย (1) ระบบกระดูก (skeleton system) (1) ระบบฟิวดัลและระบบแมเนอร์ (1) รูปแบบการปกครองแบบแมเนอร์ (1) สำนวนอังกฤษ (1) สิ่งมีชีวิต (8) สื่อการเรียนร็ู (1) หลักการซื้อสินค้าและบริการ (2) อังกฤษ (1) อาชีพ (2) english (1) English Idioms (1) get used to (2) RNA (2) WATER CONDUCTION (2)