var popunder = true; 07/16/15 | Learning On-Line. สื่อการเรียนรู้ออลไลน์
welcome to oomv26.blogspot.com ดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ ยิ่งยง แซ่ว่าง ครับ

7/16/2558

การลำเลียงอาหารของพืช



ระบบลำเลียงสารอาหาร

     สารอาหารที่พืชสร้างขึ้น คือ น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในของสารละลายจะถูกลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านทางท่อโฟลเอ็ม ซึ่งการลำเลียงจากเซลล์ของใบไปสู่เซลล์ข้างเคียงต่อ ๆ กันไปโดยกระบวนการแพร่ และแอคทีฟทรานสปอร์ต การลำเลียงอาหารเป็นการเคลื่อนที่จากด้านบนของต้นพืชลงสู่ด้านล่างไปเลี้ยงส่วนของลำต้นและราก แต่ก็มีบางส่วนที่มีการลำเลียงไปในทิศทางขึ้นด้านบนเหมือนกัน เช่น การลำเลียงไปเลี้ยงดอกและผล เป็นต้น

    ส่วนที่สะสมอาหารของพืชได้แก่
     1.  ส่วนของผลที่สะสมอาหาร ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย เงาะ ลำไย ขนุน
     2.  ส่วนของเมล็ดที่สะสมอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด ละหุ่ง ถั่วต่าง ๆ
     3.  ส่วนของรากที่สะสมอาหาร เช่น ผักกาดหัว มันเทศ แครรอต
     4.  ส่วนของลำต้นที่สะสมอาหาร เช่น อ้อย
     5.  ส่วนของลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร เช่น เผือก มันฝรั่ง แห้ว หัวหอม
     อาหารที่สะสมอยู่นี้จะอยู่ในรูปต่าง ๆ กัน เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน



ขอบคุณข้อมูลจาก
https://sites.google.com/site/pandaree071238/kar-laleiyng-sar-ni-phuch/kar-laleiyng-xahar-ni-phuch
 jun75229.wordpress.com

การลำเลียงน้ำของพืช WATER CONDUCTION

การลำเลียงน้ำ (WATER CONDUCTION)

การลำเลียงน้ำ รวมทั้งเกลือแร่ อาหาร และสิ่งต่างๆในพืชนั้นอาจจำแนกได้เป็น 4 อย่างตามอัตราความเร็วที่เกิดขึ้น คือ
1. ลำเลียงไปอย่างช้ามาก โดย การแพร่ ของอณูและไอออนจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
2. ลำเลียงไปเรื่อยๆ โดยอาศัย Cytoplasmic ( protoplasmic ) streaming ภายในเซลล์
3. ลำเลียงไปค่อนข้างเร็ว โดย การไหล (Flow) ไปใน sieve tube ของ phloem


4. ลำเลียงไปรวดเร็วมาก เป็นการลำเลียงน้ำและเกลือแร่ใน xylem

   

  กลไกการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำอาศัยปัจจัย ที่ทำให้เกิดแรงดันและแรงดึง
           1.แรงดันราก(Root pressure) เมื่อเราตัดต้นพืชบางชนิดที่ปลูกในที่มีน้ำชุ่มให้ติดโคนต้นจะพบว่ามีน้ำใสๆไหลซึมออกมาตรงบริเวณที่ตัด ซึ่งเกิดจากความเข้มข้นของน้ำในดินกับน้ำในท่อไซเล็ม โดยน้ำในท่อไซเล็มมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำในดินเพราะมีพวกแร่ธาตุและสารต่างๆอยู่มากจึงเกิดกระบวนการออสโมซิสของน้ำในดินสู่รากได้เรื่อยๆจึงเกิดแรงดันในท่อไซเล็มจึงดันให้น้ำเข้าไปในท่อไซเล็มได้

           2. แรงแคพิลลารี (Capillary force) มื่อเราเอาหลอดแก้วเล็กๆ หลายๆหลอดที่มีขนาดของรูต่างๆกันจุ่มลงในอ่างน้ำ การที่น้ำผ่านขึ้นไปในหลอดแก้วได้เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังด้านข้างของหลอดแก้วนั้น เรียกว่า แรงแอดฮีชัน(Adhesion)  จึงทำให้น้ำขึ้นไปได้สูงและต่อเนื่องกันตลอด

3. แรงดึงจากการคายน้ำหรือทรานสพิเรชันพูล(Transpiration pull) หมายถึง แรงดึงที่เกิดขึ้นจากการคายน้ำของพืช ใบจะคายน้ำออกไปเรื่อยๆทำให้เซลล์ของใบขาดน้ำไป จึงเกิดแรงดึงน้ำทำให้น้ำเคลื่อนที่ต่อเนื่อง กับผนังเซลล์ของไซเล็ม

ขอบคุณเนื้อจาก 
https://sites.google.com/site/nanchanok654321/bth-thi1/1-5

การคายน้ำของพืช

ปากใบพืชจำแนกตามชนิดของพืชที่เจริญอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็น 3 แบบ คือ

  
                1.ปากใบแบบธรรมดา (typical stomata) เป็นปากใบของพืชทั่วไปโดย
มีเซลล์คุมอยู่ในระดับเดียวกับเซลล์เอพิเดอร์มิส พืชที่ปากใบเป็นแบบนี้
 เป็นพวกเจริญอยู่ในที่ ๆ มีน้ำอุดมสมบูรณ์พอสมควร (mesophyte)
                2.ปากใบแบบจม (sunken stomata) เป็นปากใบที่อยู่ลึกเข้าไปในเนื้อใบเซลล์คุมอยู่ลึกกว่าหรือต่ำกว่าชั้น เซลล์เอพิเดอร์มิสพบในพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้ง (xerophyte) เช่น พืชทะเลทราย พวกกระบองเพชร พืชป่าชายเลน (halophyte) เช่น
โกงกาง แสม ลำพู เป็นต้น
               3.ปากใบแบบยกสูง (raised stomata) เป็นปากใบที่มีเซลล์คุมอยู่สูงกว่าระดับเอพิเดอร์มิสทั่วไป เพื่อช่วยให้น้ำระเหยออกจากปากใบได้เร็วขึ้นพบได้ในพืชที่เจริญอยู่ในน้ำที่ ที่มีน้ำมากหรือชื้นแฉะ(hydrophyte)
การคายน้ำของพืชเป็นไปในลักษณะของการแพร่เป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามตำแหน่งที่ไอน้ำออกมา คือ
               1.Stomatal transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทางปากใบซึ่งมีอยู่มากมายตามผิวใบ ปากนี้เป็นทางที่มีการคายน้ำออกมากที่สุด
               2.Cuticular transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทางผิวใบ
               3.Lenticular transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทาง lenticel ซึ่งเป็นรอยแตกตามลำต้นและกิ่ง และเป็นการคายน้ำที่ได้น้อย.

VDO การคายน้ำของพืช.

การคายน้ำของพืช (3) การงาน (1) การงานอาชีพ (2) การแบ่งเซลล์ (2) การลำเลียงน้ำของพืช (1) การลำเลียงอาหารของพืช (1) การเลือกซื้อ (1) ความกตัญญูรู้คุณ-พ่อแม่-ครูอาจารย์-ญาติมิต (1) ความร่วมมือ (1) ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับ aec (1) คำไวพจน์ (1) โครงสร้างของดีเอ็นเอ (3) งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย (1) ชีววิทยา (7) ชีววิทยา ม.6 (1) ตอบคำถาม (1) ตัวอย่างคำไวพจน์ (1) แบบทดสอบเรื่อง used to (1) ประวัติศาสตรโรมัน (1) ภาษาไทย (1) ระบบกระดูก (skeleton system) (1) ระบบฟิวดัลและระบบแมเนอร์ (1) รูปแบบการปกครองแบบแมเนอร์ (1) สำนวนอังกฤษ (1) สิ่งมีชีวิต (8) สื่อการเรียนร็ู (1) หลักการซื้อสินค้าและบริการ (2) อังกฤษ (1) อาชีพ (2) english (1) English Idioms (1) get used to (2) RNA (2) WATER CONDUCTION (2)