var popunder = true; 2015 | Learning On-Line. สื่อการเรียนรู้ออลไลน์
welcome to oomv26.blogspot.com ดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ ยิ่งยง แซ่ว่าง ครับ

12/24/2558

การแกะสลักผักผลไม้



ผักและผลไม้


รูปทรงของผักและผลไม้
    ผัก และผลไม้ในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิดโดยทั่วไปจะมีรูปทรงกลม และรูปทรงกระบอก ซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานในการแกะสลักได้ทุกลวดลาย ผักและผลไม้สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
     1. ผลไม้ที่มีเนื้อบาง จะสามารถแกะสลักได้ไม่มากนัก และเหมาะกับการปอกคว้าน เพื่อการรับประทาน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะปราง เงาะ
     2. ผลไม้เนื้อหนา จะสามารถปอก คว้าน ตัดแต่งให้เป็นชิ้นที่มีรูปร่างตามต้องการ เพื่อการรับประทาน และแกะสลักได้ตามความต้องการ ของผู้แกะสลัก เช่นแตงโม แคนตาลูป มันแกว มะม่วง มะละกอ



การเลือกซื้อผลไม้เพื่อการแกะสลัก

     1. เลือกตามฤดูกาลที่มี จะได้ผลไม้ที่มีความสด และราคาถูก
     2. เลือกให้ตรงกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ในการแกะสลัก เช่นเพื่อการปอกคว้าน เพื่อการแกะสลักเป็นภาชนะ
     3. เลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับผลงานที่จะแกะสลัก โดยเฉพาะการแกะสลักภาชนะจะต้องเลือกรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
     4. เลือกให้สด สวยตามลักษณะของผลไม้ที่แกะสลัก ทั้งผิวพรรณ และอายุของผลไม้
 

ผลไม้ที่นิยมใช้ในการแกะสลัก

แตงโม

แคนตาลูป

แอปเปิ้ล

11/17/2558

English Idioms, Slangs and Phrasal Verbs: รวมสำนวนอังกฤษ

English Idioms, Slangs and Phrasal Verbs: รวมสำนวนอังกฤษ: พวกเราได้รวบรวมสำนวนภาษาอังกฤษต่างๆ มาไว้ที่นี่ สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนภาษาอังกฤษ สำนวนที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใ...

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://englishidiomsaday.blogspot.com/p/blog-page.html?spref=bl

10/07/2558

ระบบฟิวดัลและระบบแมเนอร์



 ระบอบฟิวดัลหรือระบอบศักดินาสวามิภักดิ์

                คำว่า  feudalism มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน  หมายถึงที่ดิน ซึ่งบุคคลที่ได้รับที่ดินจากเจ้านายเรียกว่า  วัสซัล จะต้องให้ความเคารพและรับใช้เจ้านายเพื่อตอบแทนสิทธิที่ได้ใช้ที่ดินผืนนั้น  เป็นระบบการปกครองในยุโรปสมัยกลาง  ที่มีการกระจายอำนาจ และเป็นรากฐานการปกครองท้องถิ่นของดินแดนต่างๆในยุโรป
                สาเหตุการเกิดระบอบฟิวดัล
1.  ประเพณีของชาวโรมันในการแสวงหาผู้อุปการคุณและฝากตัวกับขุนนางที่มีอำนาจ  เพื่อให้รอดพ้นจาก
การรุกรานของพวกอนารยชนเผ่ากอทหรือเยอรมันและโจรผู้ร้าย
2.  ประเพณีคอมิสเตตัส  (comistatus)  เป็นประเพณีที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบกระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีซื่อตรงต่อหัวหน้าทั้งในยามสงบสุขและยามสงคราม จนกว่าชีวิตจะหาไม่     
                รูปแบบการปกครอง
                เป็นระบอบการปกครองแบบกระจายอำนาจจากกษัตริย์ไปยังขุนนาง  ผู้ที่ได้รับสิทธิในการ
ครอบครองที่ดินเรียกว่าเจ้านายหรือลอร์ด  ส่วนผู้ที่ได้รับมอบที่ดินเรียกว่า  วัสซัล แล้วนำไปจัดตั้งเป็นเขต
แมเนอร์  มีการบริหารจัดการที่ดินและปกครองตนเองแบบเบ็ดเสร็จ  โดยมีวัสซัลเป็นเจ้านายของแต่ละ
แมเนอร์  มีชาวนาและข้าทาส  เป็นผู้ใต้ปกครองมีหน้าที่ทำนาและรับใช้เจ้านาย  ในขณะเดียวกันเจ้านายก็ให้ความคุ้มครองชาวนาและข้าทาส  จึงเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเจ้านายกับข้า  ประเทศที่เคยใช้ระบบฟิวดัล  เช่น ฝรั่งเศส  เยอรมัน
                สังคมในระบอบฟิวดัล  ประกอบด้วย
1.  กษัตริย์  มีฐานะเป็นเจ้านายสูงสุด
2.   ขุนนาง (ผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินจากกษัตริย์และเป็นเจ้าของชาวนา ,ข้าทาส)
3.   อัศวิน (ลูกของขุนนาง)
4.  ชาวนา , ข้าทาส 


การเสื่อมของระบอบฟิวดัล  สาเหตุเกิดจาก
1.  การปฏิวัติทางเศรษฐกิจคริสต์ศตวรรษที่ 11  ทำให้การค้าและอุตสาหกรรม
มีความเจริญก้าวหน้า
2.   การฟื้นฟูการค้ากับตะวันออกใกล้หรือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  ทำให้มีการไถ่ตัวข้าทาสเป็นอิสระ โดยไปทำการค้าเป็นช่างฝีมือ  มีการเลื่อนฐานะเป็นชนชั้นกลางและมีอิทธิทางเศรษฐกิจ
3. เกิดโรคระบาด กาฬโรคทั่วยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14  ทำให้แรงงานหายาก
ข้าทาสมีโอกาสเป็นอิสระ  มีการโยกย้ายที่อยู่   ระบบแมเนอร์จึงเสื่อมลง
4.  มีทหารรับจ้าง  ชาวนาหนีไปเป็นทหารรับจ้าง เกิดการจลาจลของชาวไร่ ชาวนา
5.  สงครามครูเสด และสงคราม 100 ปี ทำให้อัศวินเสียชีวิตมาก กษัตริย์ยึดอำนาจ
คืนจากขุนนางโดยมีพ่อค้า ชนชั้นกลางสนับสนุน  กษัตริย์เริ่มติดต่อโดยตรงกับประชาชนทรงมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริง  ยุบกองทัพของขุนนาง ระบบฟิวดัลได้วิวัฒนาการเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปนและฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

7/23/2558

Grateful-ความกตัญญูรู้คุณ-พ่อแม่-ครูอาจารย์-ญาติมิต


        ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ 
รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม 
น้อยก็ตามแล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย


       1. คุณพ่อคุณแม่ เป็นบุคคลคนแรกที่ต้องสอนให้ลูกกตัญญูรู้คุณ เพราะเป็นบุคคลที่ให้กำเนิดลูกและเลี้ยงดูลูกด้วยความรักและความปรารถนาดี ถึงลำบากยากเย็นแค่ไหนก็ทนได้ทุกอย่าง แม้ในความเป็นจริงพ่อแม่ทุกคนจะบอกว่าทำทุกอย่างให้ลูกโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่การให้ลูกเรียนรู้ที่จะตอบแทนคุณความดีของพ่อแม่เป็นสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง เพราะนอกจากจะให้เขาเห็นถึงความสำคัญของบุพการีแล้ว ลูกจะได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้ต่อผู้อื่น ไม่ใช่เป็นผู้รับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนมักจะเขินอายหรือรู้สึกแปลก ๆ ที่จะให้ลูกมาทำดีใส่ เช่น ลูกเห็นคุณพ่อคุณแม่กลับจากทำงานมาเหนื่อย ๆ ก็เอาน้ำใส่แก้วมาให้ดื่ม 
         2. คุณครู เป็นผู้ให้ความรู้ สอนให้เด็ก ๆ อ่านออกเขียนได้ ทั้งยังช่วยขัดเกลา อบรมบ่มนิสัย จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อแม่คนที่สองของลูก การตอบแทนความดีของคุณครูคือการสอนให้ลูกเป็นลูกศิษย์ที่ตั้งใจเรียน มีวินัย มีความยำเกรง มีสัมมาคารวะ และช่วยเหลือคุณครูตามกำลังความสามารถ ไม่นิ่งดูดาย เช่น สอนให้ลูกช่วยคุณครูถือหนังสือเมื่อเห็นคุณครูแบกหนังสือมาหลายเล่ม ก็จะทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะทำความดีตอบแทนผู้มีพระคุณซึ่งเป็นผู้สอนความรู้ต่างๆมากมายให้เขา

          3. ญาติผู้ใหญ่ เป็นผู้มีความใกล้ชิดทางสายเลือด มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเรา และเป็นบุคคลซึ่งควรแก่การเคารพ ทั้งปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกกตัญญูต่อญาติผู้ใหญ่โดยการปรนนิบัติท่านทั้งหลายเหล่านี้ เช่น ช่วยหยิบของให้คุณปู่ บีบนวดให้คุณยาย จูงคุณตาไปเดินเล่น ช่วยคุณย่าทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่าที่ทำได้

          4.พระมหากษัตริย์ เป็นประมุขของประเทศ ผู้ปกครองประเทศชาติบ้านเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์โดยการให้ความเคารพ เช่น เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีต้องยืนตรงเพื่อแสดงความจงรักภักดี นอกจากนี้ต้องสอนให้ลูกเป็นคนดีของประเทศชาติด้วยการไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายอย่างใด ๆ เพื่อให้บ้านเมืองอยู่อย่างร่มเย็นดังเช่นพระมหากษัตริย์ได้ทรงปฏิบัติ

           5. สังคม หมายความถึงบุคคลในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่อาศัยคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักตอบแทนความดีของผู้อื่นแม้บุคคลนั้นจะไม่ใช่พ่อแม่ ญาติพี่น้องหรือคุณครูก็ตาม แต่หากใครทำความดีกับเรา เราก็ควรต้องตอบแทนบุญคุณของเขา 
สิ่งที่ผู้เป็นพ่อแม่ต้องสอนลูกๆ คือ
- การสอนให้ลูกกตัญญูต่อพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ต้องคอยปรนนิบัติและดูแลปู่ ย่า ตา ยาย ให้ลูกเห็นเป็นแบบอย่าง หมั่นพาลูกไปเยี่ยมเยียนท่าน

- การสอนให้ลูกกตัญญูต่อคุณครู พ่อแม่ควรแสดงความเคารพต่อคุณครูให้ลูกเห็นเป็นแบบอย่าง 

- การสอนให้ลูกกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ เช่น เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ่อแม่พาลูกไปลงนามถวายพระพร

 - การสอนให้ลูกกตัญญูต่อสังคม เช่น พ่อแม่ต้องพาลูกไปทำความสะอาดสถานที่สาธารณะและสอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือสังคมหรือคนที่เขามีความทุกยากลำบาก เป็นต้น

 ความกตัญญูเป็นคุณสมบัติของคนดี ซึ่งหากลูกของเราเป็นคนที่มีความกตัญญูรู้คุณก็จะทำให้เขาเป็นคนที่สามารถจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือไปที่ไหนก็จะมีแต่คนรักใคร่และชื่นชม สมดังสุภาษิตที่ว่า

 "นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา" แปลว่า: "ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี"

7/16/2558

การลำเลียงอาหารของพืช



ระบบลำเลียงสารอาหาร

     สารอาหารที่พืชสร้างขึ้น คือ น้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในของสารละลายจะถูกลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านทางท่อโฟลเอ็ม ซึ่งการลำเลียงจากเซลล์ของใบไปสู่เซลล์ข้างเคียงต่อ ๆ กันไปโดยกระบวนการแพร่ และแอคทีฟทรานสปอร์ต การลำเลียงอาหารเป็นการเคลื่อนที่จากด้านบนของต้นพืชลงสู่ด้านล่างไปเลี้ยงส่วนของลำต้นและราก แต่ก็มีบางส่วนที่มีการลำเลียงไปในทิศทางขึ้นด้านบนเหมือนกัน เช่น การลำเลียงไปเลี้ยงดอกและผล เป็นต้น

    ส่วนที่สะสมอาหารของพืชได้แก่
     1.  ส่วนของผลที่สะสมอาหาร ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย เงาะ ลำไย ขนุน
     2.  ส่วนของเมล็ดที่สะสมอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด ละหุ่ง ถั่วต่าง ๆ
     3.  ส่วนของรากที่สะสมอาหาร เช่น ผักกาดหัว มันเทศ แครรอต
     4.  ส่วนของลำต้นที่สะสมอาหาร เช่น อ้อย
     5.  ส่วนของลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร เช่น เผือก มันฝรั่ง แห้ว หัวหอม
     อาหารที่สะสมอยู่นี้จะอยู่ในรูปต่าง ๆ กัน เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน



ขอบคุณข้อมูลจาก
https://sites.google.com/site/pandaree071238/kar-laleiyng-sar-ni-phuch/kar-laleiyng-xahar-ni-phuch
 jun75229.wordpress.com

การลำเลียงน้ำของพืช WATER CONDUCTION

การลำเลียงน้ำ (WATER CONDUCTION)

การลำเลียงน้ำ รวมทั้งเกลือแร่ อาหาร และสิ่งต่างๆในพืชนั้นอาจจำแนกได้เป็น 4 อย่างตามอัตราความเร็วที่เกิดขึ้น คือ
1. ลำเลียงไปอย่างช้ามาก โดย การแพร่ ของอณูและไอออนจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
2. ลำเลียงไปเรื่อยๆ โดยอาศัย Cytoplasmic ( protoplasmic ) streaming ภายในเซลล์
3. ลำเลียงไปค่อนข้างเร็ว โดย การไหล (Flow) ไปใน sieve tube ของ phloem


4. ลำเลียงไปรวดเร็วมาก เป็นการลำเลียงน้ำและเกลือแร่ใน xylem

   

  กลไกการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำอาศัยปัจจัย ที่ทำให้เกิดแรงดันและแรงดึง
           1.แรงดันราก(Root pressure) เมื่อเราตัดต้นพืชบางชนิดที่ปลูกในที่มีน้ำชุ่มให้ติดโคนต้นจะพบว่ามีน้ำใสๆไหลซึมออกมาตรงบริเวณที่ตัด ซึ่งเกิดจากความเข้มข้นของน้ำในดินกับน้ำในท่อไซเล็ม โดยน้ำในท่อไซเล็มมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำในดินเพราะมีพวกแร่ธาตุและสารต่างๆอยู่มากจึงเกิดกระบวนการออสโมซิสของน้ำในดินสู่รากได้เรื่อยๆจึงเกิดแรงดันในท่อไซเล็มจึงดันให้น้ำเข้าไปในท่อไซเล็มได้

           2. แรงแคพิลลารี (Capillary force) มื่อเราเอาหลอดแก้วเล็กๆ หลายๆหลอดที่มีขนาดของรูต่างๆกันจุ่มลงในอ่างน้ำ การที่น้ำผ่านขึ้นไปในหลอดแก้วได้เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังด้านข้างของหลอดแก้วนั้น เรียกว่า แรงแอดฮีชัน(Adhesion)  จึงทำให้น้ำขึ้นไปได้สูงและต่อเนื่องกันตลอด

3. แรงดึงจากการคายน้ำหรือทรานสพิเรชันพูล(Transpiration pull) หมายถึง แรงดึงที่เกิดขึ้นจากการคายน้ำของพืช ใบจะคายน้ำออกไปเรื่อยๆทำให้เซลล์ของใบขาดน้ำไป จึงเกิดแรงดึงน้ำทำให้น้ำเคลื่อนที่ต่อเนื่อง กับผนังเซลล์ของไซเล็ม

ขอบคุณเนื้อจาก 
https://sites.google.com/site/nanchanok654321/bth-thi1/1-5

การคายน้ำของพืช

ปากใบพืชจำแนกตามชนิดของพืชที่เจริญอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็น 3 แบบ คือ

  
                1.ปากใบแบบธรรมดา (typical stomata) เป็นปากใบของพืชทั่วไปโดย
มีเซลล์คุมอยู่ในระดับเดียวกับเซลล์เอพิเดอร์มิส พืชที่ปากใบเป็นแบบนี้
 เป็นพวกเจริญอยู่ในที่ ๆ มีน้ำอุดมสมบูรณ์พอสมควร (mesophyte)
                2.ปากใบแบบจม (sunken stomata) เป็นปากใบที่อยู่ลึกเข้าไปในเนื้อใบเซลล์คุมอยู่ลึกกว่าหรือต่ำกว่าชั้น เซลล์เอพิเดอร์มิสพบในพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้ง (xerophyte) เช่น พืชทะเลทราย พวกกระบองเพชร พืชป่าชายเลน (halophyte) เช่น
โกงกาง แสม ลำพู เป็นต้น
               3.ปากใบแบบยกสูง (raised stomata) เป็นปากใบที่มีเซลล์คุมอยู่สูงกว่าระดับเอพิเดอร์มิสทั่วไป เพื่อช่วยให้น้ำระเหยออกจากปากใบได้เร็วขึ้นพบได้ในพืชที่เจริญอยู่ในน้ำที่ ที่มีน้ำมากหรือชื้นแฉะ(hydrophyte)
การคายน้ำของพืชเป็นไปในลักษณะของการแพร่เป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามตำแหน่งที่ไอน้ำออกมา คือ
               1.Stomatal transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทางปากใบซึ่งมีอยู่มากมายตามผิวใบ ปากนี้เป็นทางที่มีการคายน้ำออกมากที่สุด
               2.Cuticular transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทางผิวใบ
               3.Lenticular transpiration เป็นการคายน้ำที่กำจัดไอน้ำออกมาทาง lenticel ซึ่งเป็นรอยแตกตามลำต้นและกิ่ง และเป็นการคายน้ำที่ได้น้อย.

VDO การคายน้ำของพืช.

การคายน้ำของพืช (3) การงาน (1) การงานอาชีพ (2) การแบ่งเซลล์ (2) การลำเลียงน้ำของพืช (1) การลำเลียงอาหารของพืช (1) การเลือกซื้อ (1) ความกตัญญูรู้คุณ-พ่อแม่-ครูอาจารย์-ญาติมิต (1) ความร่วมมือ (1) ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับ aec (1) คำไวพจน์ (1) โครงสร้างของดีเอ็นเอ (3) งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย (1) ชีววิทยา (7) ชีววิทยา ม.6 (1) ตอบคำถาม (1) ตัวอย่างคำไวพจน์ (1) แบบทดสอบเรื่อง used to (1) ประวัติศาสตรโรมัน (1) ภาษาไทย (1) ระบบกระดูก (skeleton system) (1) ระบบฟิวดัลและระบบแมเนอร์ (1) รูปแบบการปกครองแบบแมเนอร์ (1) สำนวนอังกฤษ (1) สิ่งมีชีวิต (8) สื่อการเรียนร็ู (1) หลักการซื้อสินค้าและบริการ (2) อังกฤษ (1) อาชีพ (2) english (1) English Idioms (1) get used to (2) RNA (2) WATER CONDUCTION (2)